วันพุธที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

สมัยเชียงแสน.....

    ศิลปะเชียงแสน นับว่าเป็นศิลปะไทยอย่างแท้จริง ศิลปะสมัยเชียงแสน หมายถึง ศิลปะที่กำเนิดขึ้นในบริเวณภาคเหนือของประเทศไทยคำว่าเชียงแสนเป็นชื่อเมืองเก่าที่สำคัญเมืองหนึ่ง ในจังหวัดเชียงราย และการที่ได้พบประติมากรรมบางชิ้นที่งดงาม เมืองเชียงแสนจึงได้เรียกศิลปะที่ค้นพบว่า ศิลปะแบบเชียงแสน เจริญรุ่งเรืองแพร่กระจายไปทั่วภาคเหนือ ตลอดถึงเมืองเชียงใหม่ เมื่อเมืองเชียงใหม่มีอำนาจขึ้นราวพุทธศตวรรษที่ 19 โดยมีพ่อขุนเม็งรายเป็นผู้นำ หลังจากนี้ทรงมีอำนาจครอบคลุมทั่วภาคเหนือเรียกว่า “อาณาจักรล้านนา” มีศูนย์กลางอยู่ที่เมืองเชียงใหม่

  สถาปัตยกรรมสมัยเชียงแสน

    โบสถ์ วิหาร เจดีย์ หอไตร กะทั่งบ้านเรือน ล้วนมีเอกลักษณ์เด่น โบสถ์ วิหาร อาคารก่ออิฐถือปูน หลังคาโบสถ์ วิหารสมัยเชียงแสนมีเอกลักษณ์ คือ “เป็นหลังคาที่แสดงโครงสร้าง” คือไม่มีฝ้าเพดาน สามารถมองเห็นเครื่องหลังคาได้ทุกชิ้น การตกแต่งอาคารนิยมตกแต่งด้วยเครื่องไม้สลักและลายรูปปั้น

     องค์ระฆังถูกบีบให้เล็กลง มีบัลลังก์ปล้อง และที่ยอดมีฉัตรกั้น เจดีย์บางองค์เป็น 8 เหลี่ยม บางองค์เป็นเจดีย์ทรงกลม เจดีย์เชียงแสนส่วนใหญ่ได้รับอิทธิพลมาจากสุโขทัย


                                                                                                     เจดีย์บางองค์เป็น 8 เหลี่ยม





                                                                 หอไตร


                             

สถาปัตยกรรมสมัยเชียงแสน


                                                            โชว์โครงสร้างภายใน
 “เป็นหลังคาที่แสดงโครงสร้าง” คือไม่มีฝ้าเพดาน สามารถมองเห็นเครื่องหลังคาได้ทุกชิ้น



                             













                                                                ลักษณะเด่นของสถาปัตยกรรมเชียงแสน คือหลังคาซ้อนกันหลายชั้น 


ประติมากรรมสมัยเชียงแสน


  พระพุทธรูปสำริดและปูน พระพุทธรูปเชียงแสนมี 2 แบบ ได้แก่





   1.) เป็นพระพุทธรูปที่มีพระรัศมีเป็นดอกบัวตูมหรือลูกแก้ว ขมวดผมจะมีลักษณะใหญ่ หน้าจะกลมและอมยิ้ม คางเป็นปม หน้าอกนูนและกว้างเหมือนหน้าอกราชสีห์ ชายจีวรเหนือบ่าซ้ายสั้นปลายมีแฉกเป็นเขี้ยวตะขาบนิยมทำปางมารวิชัยและขัดสมาธิเพชร และที่ฐานจะทำเป็นรูปบัวคว่ำหรือบัวหงาย เป็นพระพุทธรูปที่ได้รับอิทธิพลมาจากปาละอินเดีย

   2.) นิยมเรียกว่า “แบบเชียงใหม่” เป็นพระพุทธรูปที่ได้รับอิทธิพลจากศิลปะสุโขทัย สังเกตุเอกลักษณ์ คือ พระรัศมี ดอกบัวตูมจะต้องสูงขึ้น อาจจะเป็นเปลวแบบของสุโขทัย ขมวดผมจะเล็ก ร่างกายอวบอ้วนและหน้าอกนูน แต่มีชายจีวรยาวลงมาถึงท้อง ชอบทำนั่งขัดสมาธิราบ ประติมากรรมรูปปั้นเทวดาและนางฟ้า ที่ประดิษฐานเจดีย์ ที่วัดเจ็ดยอด สร้างในสมัยของพระเจ้าติโลกราช โดยมีเอกลักษณ์เหมือน กับพระพุทธรูปเชียงแสนแบบที่ 2 ซึ่งเป็นประติมากรรมที่ยอมรับว่าวิจิตรงดงามมาก









ขอบคุณข้อมูลจาก : http://203.158.253.5/wbi/Education/สุนทรียศาสตร์%20(Aesthetics)/unt3/32hom%20artsamai.htm#t1